วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ห.ร.ม.

ความหมายของ ห.ร.ม. (หารร่วมมาก) 

ให้ D เป็นจำนวนที่หาร 12 และ 18 ลงตัว 
D มีค่าได้มากที่สุดเท่าใด ? 
D เป็นจำนวนใดได้บ้าง ? 
D = 2 ได้ไหม ?ทดสอบโดยนำ 2 ไปหาร 12 12 ÷ 2 หารลงตัว
ทดสอบโดยนำ 2 ไปหาร 18 18 ÷ 2 หารลงตัว
2 หาร 12 และ 18 ลงตัว ดังนั้น D = 2 ได้ 

2 คือจำนวนที่มากที่สุดที่หาร 12 และ 18 ลงตัวใช่หรือไม่ ? 
ไม่ใช่ เพราะมีจำนวนอื่นที่มีค่ามากกว่า 2 และหาร 12 และ 18 ลงตัว เช่น 3 
D = 3 ได้เพราะ12 ÷ 3 หารลงตัว
18 ÷ 3 หารลงตัว

3 คือจำนวนที่มากที่สุดที่หาร 12 และ 18 ลงตัวใช่หรือไม่ ? 
ยังไม่ใช่ เพราะยังมี 6 ซึ่งมีค่ามากกว่า 3 และหาร 12 และ 18 ลงตัว 
D = 6 ได้เพราะ12 ÷ 6 หารลงตัว
18 ÷ 6 หารลงตัว

6 คือจำนวนที่มากที่สุดที่หาร 12 และ 18 ลงตัวใช่หรือไม่ ? 
ใช่ เพราะไม่มีจำนวนที่มากกว่า 6 และหาร 12 และ 18 ลงตัว 
ค่าที่มากที่สุดของ D คือ 6 
6 คือจำนวนที่มีค่ามากที่สุดที่หาร 12 และ 18 ลงตัว 
เรียก 6 ว่า ห.ร.ม. (หารร่วมมาก) ของ 12 และ 1
ห.ร.ม. (หารร่วมมาก) ของจำนวนเต็มสองจำนวนซึ่งไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน คือจำนวนเต็มที่มากที่สุดที่หารทั้งสองจำนวนนั้นลงตัว 


วิธีหา ห.ร.ม. (หารร่วมมาก) 
การหา ห.ร.ม. ทำได้ 3 วิธี
1) หา ห.ร.ม. ด้วยวิธีแยกตัวประกอบ
2) หา ห.ร.ม. ด้วยวิธีตั้งหาร โดยหารตัวตั้งทุกตัวด้วยตัวประกอบร่วม
3) หา ห.ร.ม. ด้วยวิธีตั้งหารแบบยูคลิด
หา ห.ร.ม. ด้วยวิธีแยกตัวประกอบ 

ตัวอย่างที่ 1
ห.ร.ม. ของ 42 และ 154 คือจำนวนที่มีค่ามากที่สุดที่สามารถหาร 42 และ154 ลงตัว
ขั้นตอนการหา ห.ร.ม. ของ 42 และ 154 ด้วยวิธีแยกตัวประกอบ

1)นำ 42 และ154 มาแยกตัวประกอบ โดยแยกจนตัวประกอบทุกตัวเป็นจำนวนเฉพาะ
42 = 2 x 7 x 3
154 = 2 x 7 x 11
2)นำตัวประกอบร่วมออกมา กลุ่มละ 1 ตัว จากตัวประกอบร่วม 2 กลุ่มคือ 2 และ 7
3)ห.ร.ม. = ผลคูณของตัวประกอบร่วม
ห.ร.ม. = 2 x 7
ห.ร.ม. = 14
ตัวอย่างที่ 2
ค.ร.น. ของ 420, 630 และ 735 คือจำนวนที่มีค่ามากที่สุดที่สามารถหาร 420, 630 และ 735 ลงตัว
ขั้นตอนการหา ห.ร.ม. ของ 420, 630 และ 735 ด้วยวิธีแยกตัวประกอบ

1)นำ 420, 630 และ 735 มาแยกตัวประกอบ โดยแยกจนตัวประกอบทุกตัวเป็นจำนวนเฉพาะ
420 = 5 x 3 x 7 x 2 x 2
630 = 5 x 3 x 7 x 2 x 3
735 = 5 x 3 x 7 x 7
2)นำตัวประกอบร่วมออกมา กลุ่มละ 1 ตัว จากตัวประกอบร่วม 3 กลุ่มคือ 53 และ 7
3)ห.ร.ม. = ผลคูณของตัวประกอบร่วม
ห.ร.ม. = 5 x 3 x 7
ห.ร.ม. = 105
หา ห.ร.ม. ด้วยวิธีตั้งหาร โดยหารตัวตั้งทุกตัวด้วยตัวประกอบร่วม 

ตัวอย่างที่ 1
ขั้นตอนการหา ห.ร.ม. ของ 42 และ 154 ด้วยวิธีตั้งหาร โดยหารตัวตั้งทุกตัวด้วยตัวประกอบร่วม

1)
นำ 42 และ 154 ตั้งไว้เพื่อเตรียมหาร

2)
หาจำนวนที่หาร 42 และ 154 ลงตัว
จำนวนที่หาร 42 และ 154 ลงตัวคือตัวประกอบร่วมของ 42 และ 154
2 หาร 42 และ 154 ลงตัว
42 ÷ 2 = 21
154 ÷ 2 = 77

3)
หาจำนวนที่หาร 21 และ 77 ลงตัว
จำนวนที่หาร 21 และ 77 ลงตัวคือตัวประกอบร่วมของ 21 และ 77
7 หาร 21 และ 77 ลงตัว
21 ÷ 7 = 3
77 ÷ 7 = 11

4)
การหารสิ้นสุดเพราะไม่สามารถหาจำนวนที่หาร 3 และ 11 ลงตัว
ห.ร.ม. = ผลคูณของตัวหาร
ห.ร.ม. = 2 x 7
ห.ร.ม. = 14


ตัวอย่างที่ 2
ขั้นตอนการหา ห.ร.ม. ของ 420, 630 และ 735 ด้วยวิธีตั้งหาร โดยหารตัวตั้งทุกตัวด้วยตัวประกอบร่วม

1)
นำ 420, 630 และ 735 ตั้งไว้เพื่อเตรียมหาร

2)
หาจำนวนที่หาร 420, 630 และ 735 ลงตัว
จำนวนที่หาร 420, 630 และ 735 ลงตัวคือตัวประกอบร่วมของ 420, 630 และ 735
5 หาร 420, 630 และ 735 ลงตัว
420 ÷ 5 = 84
630 ÷ 5 = 126
735 ÷ 5 = 147

3)
หาจำนวนที่หาร 84, 126 และ 147 ลงตัว
จำนวนที่หาร 84, 126 และ 147 ลงตัวคือตัวประกอบร่วมของ 84, 126 และ 147
3 หาร 84, 126 และ 147 ลงตัว
84 ÷ 3 = 28
126 ÷ 3 = 42
147 ÷ 3 = 49

4)
หาจำนวนที่หาร 28, 42 และ 49 ลงตัว
จำนวนที่หาร 28, 42 และ 49 ลงตัวคือตัวประกอบร่วมของ 28, 42 และ 49
7 หาร 28, 42 และ 49 ลงตัว
28 ÷ 7 = 4
42 ÷ 7 = 6
49 ÷ 7 = 7

5)
การหารสิ้นสุดเพราะไม่สามารถหาจำนวนที่หาร 4, 6 และ 7 ลงตัว
ห.ร.ม. = ผลคูณของตัวหาร
ห.ร.ม. = 5 x 3 x 7
ห.ร.ม. = 105